ความสำคัญของประเพณีแซนโฎนตา

ความสำคัญของประเพณีแซนโฎนตา “การทำบุญในวันสารทนั้นถือเอาฤดูข้าวออกรวงเป็นน้ำนมจะนำเอาไปทำข้าว ปายาส (ข้างหุงเจือด้วยน้ำนม และน้ำตาล ข้าวเปียกเจือนมผสมน้ำตาล) ข้าวทิพย์ และข้าวยาคูเลี้ยงดูพราหมณ์ ในเมืองไทยนั้นได้ทำตามพราหมณ์ตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัยแล้ว เนื่องจากเรานับถือทั้งพระและพราหมณ์ เมื่อถึงวันสารทต้องทำบุญถวายทั้งพระภิกษุและพราหมณ์พร้อม ๆ กัน โดยเรียกชื่อวันสารทในภาคต่าง ๆ อาจผิดเพี้ยนไปบ้าง เช่น ในภาคอีสาน เรียกว่า ทำบุญข้าวสาก และแซนโฎนตา ภาคใต้ เรียกว่า จัดหรับ (ยกหรับ) ชิงเปรต หรือส่งตายาย ภาคเหนือเรียก ตานก๋วยสลาก ภาคกลางเรียก สารทเดือนสิบ พิธีสารทนี้ล้วนทำกันในเดือน ๑๐ ทั้งสิ้น ความมุ่งหมายในการทำคล้าย ๆ กัน คือ ทำบุญเพื่ออุทิศส่วนบุญให้แก่ญาติพี่น้องที่ล่วงลับไปแล้ว โดยเฉพาะผู้ที่ ตกทุกข์ได้ยากอยู่ในสัมปรายภพ กล่าวกันว่า ในวันสารทบรรดาเปรตทั้งหลายจะได้รับการปลดปล่อยให้กลับไปเยี่ยมบ้าน และญาติพี่น้องเป็นการทำบุญร่วมกับพวกเปรตทั้งญาติและ ไม่ใช่ญาติ วันสารทจึงเป็นวันสงเคราะห์ใหญ่ที่เรียกว่า ปุพพเปตพลีนั้นนิยมทำบุญด้วยกระยาสารท เป็นวัฒนธรรมไทยที่บรรพบุรุษต้องการส่งเสริมพืชพันธุ์ธัญญาหาร และการครัวของสตรี ซึ่งได้โอกาสการประกอบอาหารไปในตัว ได้โอกาสส่งขนมกระยาสารทไปกำนันเพื่อนบ้านแลกเปลี่ยนกันนับเป็นวัฒนธรรมของชาติที่น่ายกย่องสรรเสริญ และน่าส่งเสริมอย่างยิ่ ประเพณีสารทเป็นประเพณีที่มีพัฒนาการมาจากความเชื่อเรื่องการทำ เปตพลี ของศาสนาพราหมณ์ กล่าวคือในศาสนาพราหมณ์มีประเพณีอยู่ประเพณีหนึ่ง เรียกว่า เปตพลี เป็นประเพณีที่จัดขึ้นเพื่อทำบุญอุทิศส่วนบุญให้แก่ผู้ตาย ประเพณีนี้ ปฏิบัติต่อเนื่องกันมาในอินเดียก่อนสมัยพุทธกาล ลักษณะสำคัญของประเพณีสารทนั้น ดังนี้ 1. ด้านจุดมุ่งหมายของการอุทิศส่วนบุญ “เพื่อขวนขวายทำบุญให้ตัวเอง กล่าวคือ เพื่อความสุขของตัวเอง เป็นหลักความไม่ประมาท ในการที่จะทำอะไร ๆ ด้วยความเพียรและในการที่จะพัฒนาตน คือต้องไม่ประมาทต้องมองเห็นตระหนักในความสำคัญของกาลเวลา และความเปลี่ยนแปลงว่าในขณะที่เราดำเนินชีวิตอยู่นี้ สิ่งทั้งหลายรอบตัวเราและชีวิตของเรา ล้วนไม่เที่ยงแท้ แน่นอน เราจะมัวนิ่งนอนใจอยู่ไม่ได้ มีอะไรที่ควรจะทำต้องรีบทำ ต้องเร่งขวนขวายไม่ประมาท ไม่นอนใจ ไม่ฝัดเพี้ยนหลักไม่ประมาทนี้ พระพุทธเจ้าทรงสอนว่าเหมือนกับรอยเท้าช้างที่ครอบคลุมธรรมะของพระองค์ไว้หมด แล้วก็เป็น ปัจฉิมวาจาของพระองค์ก่อนปรินิพพานด้วย จึงถือว่าสำคัญอย่างยิ่ง 8 2. ด้านบุคคล ผลของทานที่ปรากฏแก่เปรตทั้งหลายที่ได้รับส่วนบุญจากญาติ ๆ และผู้ที่อุทิศส่วนบุญไปให้ซึ่งก็ปรากฏเป็นข้าวปลาอาหารเครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย ที่เป็นปัจจัยพื้นฐานเหมือนกับมนุษย์ เป็นการสะท้อนให้เห็นว่า การจัดเครื่องเซ่นสังเวย บูชา อุทิศส่วนบุญให้แก่ญาติๆ ที่เป็นเปรตนั้น มีวัตถุสิ่งของต่าง ๆ ที่ใช้ในการประกอบพิธีกรรม ในคัมภีร์พระไตรปิฎกของเถรวาทได้กล่าวถึงพัฒนาการของการ เซ่นสรวงเครื่องสังเวยต่าง ๆ ตามรูปแบบในพิธีของศาสนาพราหมณ์ เช่น เครื่องสังเวย และภาชนะใส่เครื่องบูชาต่าง ๆ 3.ด้านเวลา วันสารทเป็นวันนักขัตฤกษ์ที่นิยมของคนทั้งหลาย ว่าเป็นวันที่จะได้ทำบุญรื่นเริง เลี้ยงดูกันในตอนกลางปีอีกครั้งหนึ่ง มูลเหตุนี้เองการอุทิศส่วนบุญจึงต้องมีเงื่อนไขของวันและเวลาเป็นองค์ประกอบ ดังพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคว่า “เหล่าชนผู้อนุเคราะห์ย่อมให้อาหารและน้ำดื่มที่สะอาดประณีตเหมาะแก่พระสงฆ์ตามกาล อุทิศให้ญาติทั้งหลาย (ผู้ที่ตายไปแล้ว)

วันพฤหัสบดีที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2557

รูปภาพของประเพณีแซนโฎนตา














ประวัติความเป็นมาและความสำคัญของประเพณีแซนโฎนตา


ความเป็นมาและความสำคัญ

            ประเพณีสารทเดือนสิบ (แซนโฎนตา) ของชาวไทยเชื้อสายเขมรในจังหวัดสุรินทร์ ยังคงมีการปฏิบัติสืบทอดกันมาจวบจนถึงปัจจุบันนี้ ด้วยสาเหตุหลัก ๆ คือ ได้รับอิทธิพลจากคติความเชื่อเรื่องการบูชาบรรพบุรุษและการบูชาเทพเจ้าของศาสนาพราหมณ์ ได้รับอิทธิพลจากความเชื่อเรื่องการบูชาตามคติทางพระพุทธศาสนา และได้รับคติความเชื่อโบราณที่เกี่ยวกับอำนาจการให้คุณให้โทษของผีบรรพบุรุษและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่มีอยู่ในชุมชน เพราะคติความเชื่อของชาวไทยเชื้อสายเขมรเมื่อถึงช่วงเทศกาลสารทเดือนสิบ ประตูยมโลกจะเปิด เปรตจะเดินทางมาเยี่ยมญาติเพื่อขอส่วนบุญ จากญาติพี่น้องของตน ชาวไทยเขมรจึงต้องมีการจัดทำอาหาร ขนมข้าวต้ม เพื่อต้อนรับผีบรรพบุรุษเหล่านั้น การประกอบพิธีดังกล่าวเมื่อถึงรุ่งเช้าของวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๐ ก็จะนำอาหารขนมข้าวต้มไปถวายพระสงฆ์ที่วัด เพื่ออุทิศส่วนบุญให้ผีบรรพบุรุษของตน เรียกพิธีดังกล่าวว่า

             การทำบุญวันสารทเล็กซึ่งมีความเชื่อว่าผีบรรพบุรุษจะออกมาจากยมโลกได้ ๑๕ วัน หลังจากนั้นต้องกลับไปรับกรรมในยมโลกตามเดิม การประกอบพิธีสารทของชาวจังหวัดสุรินทร์นั้น มีระยะเวลาการทำบุญ ๒ ช่วง ดังนี้

๑)ช่วงสารทเล็ก (เบณฑ์ตูจ) ประกอบพิธี วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๐                                                  ) ช่วงสารทใหญ่ นับไปอีก ๑๔ วัน นับจาก วันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๐ ถึง วันแรม ๑๕

ค่ำ เดือน ๑๐ เป็นวันสารทใหญ่ (เบณฑ์ทม)

            ช่วงระยะเวลานี้จะมีการประกอบพิธีสารทเดือนสิบ มีความเชื่อกันว่า สัตว์นรกจะถูกปลดปล่อยให้มารับส่วนบุญจากญาติพี่น้อง เปรตจะเดินทางมาเยี่ยมญาติที่ยังมีชีวิตอยู่ สาเหตุที่ต้องเตรียมตัวทำบุญตั้งแต่วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๐ เพราะเชื่อกันว่า ผีบรรพบุรุษถูกปล่อยมาตั้งแต่ช่วงสารทเล็ก และเดินทางมาไกลเกิดความเหน็ดเหนื่อย หิวกระหาย เมื่อมาถึงก็จะอยู่ที่วัดรอคอยว่าญาติหรือลูกหลาน จะมาทำบุญอุทิศส่วนบุญให้หรือไม่ ตอนนี้เองหากญาติหรือลูกหลาน                 มาทำบุญให้ผีบรรพบุรุษก็จะดีใจ และได้รับผลบุญจากที่ได้มีการทำบุญอุทิศให้ ก็จะอวยพรให้ญาติหรือ

 

 

 

 

2

 

ลูกหลานมีความสุขความเจริญ นอกจากจะเป็นการทำบุญเพื่ออุทิศส่วนบุญให้ผีบรรพบุรุษแล้ว              ยังเป็นการแสดงออกถึงความกตัญญูกตเวทีต่อผู้มีพระคุณ การสร้างปฏิสัมพันธ์ ความรัก                 ความอบอุ่นของสมาชิกในครอบครัวเครือญาติ จนถึงการสร้างความสามัคคีของคนในชุมชนด้วยบรรพบุรุษก็จะดีใจ และได้รับผลบุญจากที่ได้มีการทำบุญอุทิศให้ ก็จะอวยพรให้ญาติหรือลูกหลานมีความสุขความเจริญ นอกจากจะเป็นการทำบุญเพื่ออุทิศส่วนบุญให้ผีบรรพบุรุษแล้ว ยังเป็นการแสดงออกถึงความกตัญญูกตเวทีต่อผู้มีพระคุณ การสร้างปฏิสัมพันธ์ ความรักความอบอุ่นของสมาชิกในครอบครัวเครือญาติ จนถึงการสร้างความสามัคคีของคนในชุมชนด้วย

                การประกอบพิธีสารทดังกล่าว สอดคล้องกับคติความเชื่อในพระพุทธศาสนาคือหลัก

ปฏิบัติที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตรัสไว้คือ การทำพลีกรรม ๕ อย่าง คือ ญาติพลี อติถิพลี ปุพพ

เปตพลี ราชพลี เทวตาพลี นอกจากนั้นหลักธรรมที่เห็นได้จากประเพณีสารทเดือนสิบก็คือการ

เคารพผู้ใหญ่ที่เป็นบรรพบุรุษในวงศ์ตระกูล และการแสดงออกซึ่งความกตัญญู รู้คุณต่อบิดามารดา

และบรรพบุรุษ ซึ่งถือว่าเป็นหน้าที่ของผู้อยู่ครองเรือนทั่วไปจะพึงกระทำ และไม่จำเพาะเจาะจงว่า

จะต้องทำให้แก่ผู้ที่เป็นสมาชิกภายในครอบครัว หรือผู้ที่เป็นเครือญาติของตนเท่านั้น แต่ให้กระทำ

แก่ผู้อื่นที่เป็นมิตรสหาย หรือผู้ที่อยู่ร่วมสังคมเดียวกัน ว่าโดยหลักก็คือการทำกุศลกรรมบางอย่าง

แล้วอุทิศส่วนบุญที่เกิดขึ้นเพื่อประโยชน์แก่ผู้อื่นด้วยนั่นเอง หลายครั้งที่การอุทิศส่วนบุญ มุ่งไปยัง

เปรต และบรรพชนซึ่งเชื่อกันว่า  บัดนี้อาจจะกำลังประสบความทุกข์อยู่ในทุคติภูมิ การกระทำ

ดังกล่าวนับว่ามีประโยชน์ในเชิงปฏิบัติต่อการระงับความหิวของเปรตนั้นเป็นอย่างยิ่ง และเป็น

เครื่องรับประกันว่า พวกเขาจะไม่สร้างความเดือดร้อนต่อมนุษย์อีกด้วย  ยิ่งไปกว่านั้นหากพิจารณา

ถึงประโยชน์ ที่สังคมจะพึงได้จากการบูชาคุณของญาติที่ล่วงลับไปแล้วนี้  ก็สามารถมองเห็น

ช่องทาง ที่จะขยายประโยชน์ออกไปได้อย่างกว้างขวาง กล่าวคือ เมื่อผู้ที่ล่วงไปแล้วเคยสร้างคุณงามความดีไว้มากจนเป็นที่ประจักษ์แก่สังคม สังคมก็จะช่วยกันยกย่องเชิดชูคุณงามความดีของเขาการกระทำอย่างนี้นับว่าเป็นผลดีแก่สังคม ในการที่จะดำรงรักษาสังคมนั้นให้มั่นคงเป็นปึกแผ่น ทำ

ให้สังคมมีความสงบสุขมีความสามัคคีกลมเกลียวกัน

                                ด้วยเหตุนี้คณะผู้จัดทำในฐานะที่เป็นเยาวชนคนรุ่นใหม่ จึงได้สืบค้น ศึกษาประวัติความเป็นมาและความสำคัญของประเพณีแซนโฎนตา เพื่ออนุรักษ์ประเพณีที่เก่าแก่นี้ให้คงอยู่เพื่อลูกหลานรุ่นหลัง เผยแพร่ให้คนรุ่นหลังเห็นถึงความสำคัญประเพณีแซนโฎนตาของชาวสุรินทร์และมีความภาคภูมิใจในถิ่นกำเนิดและสืบสานประเพณีให้คงอยู่สืบต่อไป

 

 

วันพุธที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2557

โครงงานประเพณีแซนโฎนตา



                                     

 

 

 

ประเพณีแซนโฎนตา

 

1. นางสาวฤทัย พุทธคี                                                                                                                            2. นางสาวสุนิศา สวยรูป                                                                                                                 3. นางสาวอินทิรา ล้อมกระโทก                                                                                                     4. นางสาววชิราภรณ์ พริ้งเพราะ

    ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/16

 

เสนอ

นาง รุ้งดาว กลิ่นหอม

ครูที่ปรึกษา

 

 

รายงานฉบับนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชาการศึกษาค้นคว้าและสร้างองค์ความรู้ (ท23101)

โรงเรียนสุรวิทยาคาร  อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์

ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา  2557

 

ประเพณีแซนโฎนต

 

 

1. นางสาวฤทัย พุทธคี   เลขที่ 36                                                                                                              2. นางสาวสุนิศา สวยรูป  เลขที่ 38                                                                                                              3. นางสาวอินทิรา ล้อมกระโทก  เลขที่  40                                                                                                 4. นางสาววชิราภรณ์ พริ้งเพราะ เลขที่ 37

    ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/16

 

 

เสนอ

นาง รุ้งดาว กลิ่นหอม

ครูที่ปรึกษา

 

 

รายงานฉบับนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชาการศึกษาค้นคว้าและสร้างองค์ความรู้ (ท23101)

โรงเรียนสุรวิทยา อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์

ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา  2557

 


 

ชื่อเรื่อง        :       ประเพณีแซนโฎนตา                                                                                                  

ผู้จัดทำ        :        นางสาวฤทัย พุทธคี                                                     

                             นางสาวสุนิศา สวยรูป

                             นางสาววชิราภรณ์ พริ้งเพราะ

                             นางสาวอินทิรา ล้อมกระโทก

สถานศึกษา    :     โรงเรียนสุรวิทยาคารอำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์                                                      บทคัดย่อ       :      รายงานการศึกษาค้นคว้าเรื่อง แซนโฎนตา ประเพณีเก่าแก่ที่ควรรักษาไว้                      มีจุดประสงค์เพื่อ 1. เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมาของประเพณีแซนโฎนตา 2. เพื่อศึกษพิธีกรรมการ แซนโฎนตา 3. เพื่อเผยแพร่ประเพณีแซนโฎนตาผ่านแผ่นผับ แซนโฎนตา  กำเนิดและพัฒนาการของประเพณีสารทเดือนสิบของชาวจังหวัดสุรินทร์ พบว่าประเพณีนี้ได้เกิดขึ้นมานานแล้ว แต่ไม่พบว่าครั้งแรกได้เกิดขึ้นตั้งแต่เมื่อใด และยังพบว่า ประเพณีสารทของชาวจังหวัดสุรินทร์นี้ ได้มีกาเนิดมาจากความเชื่อเรื่องการทาบุญอุทิศให้แก่ผู้ตายที่ปรากฏในหลักคาสอนของพระพุทธศาสนานั้นเอง ในปัจจุบันภาษาท้องถิ่นของชาวสุรินทร์เรียกประเพณีสารทว่า                       แซนโฎนตาซึ่งมีกิจกรรมหลายอย่าง เช่น พิธีเซ่นไหว้ผีบรรพบุรุษ การทาบุญที่วัดเพื่ออุทิศให้แก่ผู้ตาย ประเพณีสารทเดือนสิบของชาวจังหวัดสุรินทร์ มีอยู่ ๒ ช่วง ดังนี้ ๑) ประเพณีเบณฑ์ตูจ คือประเพณีสารทเล็ก จะประกอบพิธีกรรมในวันขึ้น ๑๕ ค่า เดือน ๑๐ และ ๒) ประเพณีเบณฑ์ทม คือ สารทใหญ่ จะประกอบพิธีกรรมในวันแรม ๑๕ ค่าเดือน ๑๐ เกิดจากความเชื่อของคนในยุคโบราณซึ่งเชื่อเรื่องอำนาจสิ่งศักดิ์สิทธิ์ และอำนาจของสิ่งลึกลับ พวกเขาเข้าใจว่าปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นนั้นเกิดจากพระเจ้าพิธีสารท ถือได้ว่าเป็นพิธีหลักของศาสนาพราหมณ์เก่าและพราหมณ์ใหม่โดยเป็นหลักปฏิบัติที่มีความสำคัญต่อผู้ที่นับถือศาสนาพราหมณ์เป็นอย่างมาก

 

 

 

 

 


 

กิตติประกาศ

                         รายงานการศึกษาค้นคว้าเรื่อง ประเพณีแซนโฎนตา ฉบับนี้สำเร็จสมบูรณ์ลงได้ก็เพราะได้รับความช่วยเหลือจากอาจารย์ รุ้งดาว กลิ่นหอม อาจารย์ที่ปรึกษา โดยให้คาปรึกษา เสนอแนะ ข้อคิดเห็นและตรวจสอบแก้ไขข้อพกพร่อง ให้คำแนะนำและคอยช่วยเหลือในการจัดทำรายงานจนสำเร็จลุลวง                                                                                                                                      

                         ขอขอบพระคุณบิดามารดาของคณะผู้จัดทำที่ให้การสนับสนุนในการศึกษาเล่าเรียนและคอยเป็นกำลังใจให้รายงายสำเร็จลุล่วงด้วยดีคณะผู้จัดทำขอกราบขอบพระคุณทุกท่าน               มา ณ โอกาสนี้

 

 

                                                                                           วชิราภรณ์ พริ้งเพราะ และคณะ                                             

                                                                                                                    กันยายน 2557

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 


 

สารบัญ

เรื่อง                                                                                                                                            หน้า

บทคัดย่อ                                                                                                                                      ()

กิตติกรรมประกาศ                                                                                                                       ()

สารบัญ                                                                                                                                         ()

บทที่ ๑ บทนำ                                                                                                                                 1

                 .  ความเป็นมาและความสำคัญของประเพณีแซนโฎนตา                                        1 - 2

                 . วัตถุประสงค์                                                                                                         3

                 .  ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ                                                                                    

บทที่ ๒ เอกสารที่เกี่ยวข้อง                                                                                                            4                                                                                                                                                               

                  ๑.ความหมายของประเพณีแซนโฎนตา

                 ๒.ประวัติความเป็นมาของประเพณีแซนโฎนตา                                                          5                                                                                 

                 ๓.ความสำคัญของประเพณีแซนโฎนตา                                                                       7                                            

                ๔.การประกอบพิธีกรรมแซนโฎนตา                                                                         8 - 9            

บทที่ ๓ วิธีการดำเนินงาน                                                                                                                                                 10

บทที่ ๔ สรุปผลการและอภิปรายผล                                                                                              12

             ๑. ผลการศึกษา                                                                                                                                            

            ๒. สรุปผลและอภิปรายผล                                                      

บรรณานุกรม                                                                                                                                                                   13 - 14

ภาคผนวก ก ภาพประกอบประเพณีสารทเดือนสิบ(แซนโฎนตา) ของจังหวัดสุรินทร์                

 

 

 

บทที่ 1

บทนำ

 

ความเป็นมาและความสำคัญ

            ประเพณีสารทเดือนสิบ (แซนโฎนตา) ของชาวไทยเชื้อสายเขมรในจังหวัดสุรินทร์ ยังคงมีการปฏิบัติสืบทอดกันมาจวบจนถึงปัจจุบันนี้ ด้วยสาเหตุหลัก ๆ คือ ได้รับอิทธิพลจากคติความเชื่อเรื่องการบูชาบรรพบุรุษและการบูชาเทพเจ้าของศาสนาพราหมณ์ ได้รับอิทธิพลจากความเชื่อเรื่องการบูชาตามคติทางพระพุทธศาสนา และได้รับคติความเชื่อโบราณที่เกี่ยวกับอำนาจการให้คุณให้โทษของผีบรรพบุรุษและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่มีอยู่ในชุมชน เพราะคติความเชื่อของชาวไทยเชื้อสายเขมรเมื่อถึงช่วงเทศกาลสารทเดือนสิบ ประตูยมโลกจะเปิด เปรตจะเดินทางมาเยี่ยมญาติเพื่อขอส่วนบุญ จากญาติพี่น้องของตน ชาวไทยเขมรจึงต้องมีการจัดทำอาหาร ขนมข้าวต้ม เพื่อต้อนรับผีบรรพบุรุษเหล่านั้น การประกอบพิธีดังกล่าวเมื่อถึงรุ่งเช้าของวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๐ ก็จะนำอาหารขนมข้าวต้มไปถวายพระสงฆ์ที่วัด เพื่ออุทิศส่วนบุญให้ผีบรรพบุรุษของตน เรียกพิธีดังกล่าวว่า

             การทำบุญวันสารทเล็กซึ่งมีความเชื่อว่าผีบรรพบุรุษจะออกมาจากยมโลกได้ ๑๕ วัน หลังจากนั้นต้องกลับไปรับกรรมในยมโลกตามเดิม การประกอบพิธีสารทของชาวจังหวัดสุรินทร์นั้น มีระยะเวลาการทำบุญ ๒ ช่วง ดังนี้

๑)ช่วงสารทเล็ก (เบณฑ์ตูจ) ประกอบพิธี วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๐                                                  ) ช่วงสารทใหญ่ นับไปอีก ๑๔ วัน นับจาก วันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๐ ถึง วันแรม ๑๕

ค่ำ เดือน ๑๐ เป็นวันสารทใหญ่ (เบณฑ์ทม)

            ช่วงระยะเวลานี้จะมีการประกอบพิธีสารทเดือนสิบ มีความเชื่อกันว่า สัตว์นรกจะถูกปลดปล่อยให้มารับส่วนบุญจากญาติพี่น้อง เปรตจะเดินทางมาเยี่ยมญาติที่ยังมีชีวิตอยู่ สาเหตุที่ต้องเตรียมตัวทำบุญตั้งแต่วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๐ เพราะเชื่อกันว่า ผีบรรพบุรุษถูกปล่อยมาตั้งแต่ช่วงสารทเล็ก และเดินทางมาไกลเกิดความเหน็ดเหนื่อย หิวกระหาย เมื่อมาถึงก็จะอยู่ที่วัดรอคอยว่าญาติหรือลูกหลาน จะมาทำบุญอุทิศส่วนบุญให้หรือไม่ ตอนนี้เองหากญาติหรือลูกหลาน                 มาทำบุญให้ผีบรรพบุรุษก็จะดีใจ และได้รับผลบุญจากที่ได้มีการทำบุญอุทิศให้ ก็จะอวยพรให้ญาติหรือ

 

 

 

 

2

 

ลูกหลานมีความสุขความเจริญ นอกจากจะเป็นการทำบุญเพื่ออุทิศส่วนบุญให้ผีบรรพบุรุษแล้ว              ยังเป็นการแสดงออกถึงความกตัญญูกตเวทีต่อผู้มีพระคุณ การสร้างปฏิสัมพันธ์ ความรัก                 ความอบอุ่นของสมาชิกในครอบครัวเครือญาติ จนถึงการสร้างความสามัคคีของคนในชุมชนด้วยบรรพบุรุษก็จะดีใจ และได้รับผลบุญจากที่ได้มีการทำบุญอุทิศให้ ก็จะอวยพรให้ญาติหรือลูกหลานมีความสุขความเจริญ นอกจากจะเป็นการทำบุญเพื่ออุทิศส่วนบุญให้ผีบรรพบุรุษแล้ว ยังเป็นการแสดงออกถึงความกตัญญูกตเวทีต่อผู้มีพระคุณ การสร้างปฏิสัมพันธ์ ความรักความอบอุ่นของสมาชิกในครอบครัวเครือญาติ จนถึงการสร้างความสามัคคีของคนในชุมชนด้วย

                การประกอบพิธีสารทดังกล่าว สอดคล้องกับคติความเชื่อในพระพุทธศาสนาคือหลัก

ปฏิบัติที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตรัสไว้คือ การทำพลีกรรม ๕ อย่าง คือ ญาติพลี อติถิพลี ปุพพ

เปตพลี ราชพลี เทวตาพลี นอกจากนั้นหลักธรรมที่เห็นได้จากประเพณีสารทเดือนสิบก็คือการ

เคารพผู้ใหญ่ที่เป็นบรรพบุรุษในวงศ์ตระกูล และการแสดงออกซึ่งความกตัญญู รู้คุณต่อบิดามารดา

และบรรพบุรุษ ซึ่งถือว่าเป็นหน้าที่ของผู้อยู่ครองเรือนทั่วไปจะพึงกระทำ และไม่จำเพาะเจาะจงว่า

จะต้องทำให้แก่ผู้ที่เป็นสมาชิกภายในครอบครัว หรือผู้ที่เป็นเครือญาติของตนเท่านั้น แต่ให้กระทำ

แก่ผู้อื่นที่เป็นมิตรสหาย หรือผู้ที่อยู่ร่วมสังคมเดียวกัน ว่าโดยหลักก็คือการทำกุศลกรรมบางอย่าง

แล้วอุทิศส่วนบุญที่เกิดขึ้นเพื่อประโยชน์แก่ผู้อื่นด้วยนั่นเอง หลายครั้งที่การอุทิศส่วนบุญ มุ่งไปยัง

เปรต และบรรพชนซึ่งเชื่อกันว่า  บัดนี้อาจจะกำลังประสบความทุกข์อยู่ในทุคติภูมิ การกระทำ

ดังกล่าวนับว่ามีประโยชน์ในเชิงปฏิบัติต่อการระงับความหิวของเปรตนั้นเป็นอย่างยิ่ง และเป็น

เครื่องรับประกันว่า พวกเขาจะไม่สร้างความเดือดร้อนต่อมนุษย์อีกด้วย  ยิ่งไปกว่านั้นหากพิจารณา

ถึงประโยชน์ ที่สังคมจะพึงได้จากการบูชาคุณของญาติที่ล่วงลับไปแล้วนี้  ก็สามารถมองเห็น

ช่องทาง ที่จะขยายประโยชน์ออกไปได้อย่างกว้างขวาง กล่าวคือ เมื่อผู้ที่ล่วงไปแล้วเคยสร้างคุณงามความดีไว้มากจนเป็นที่ประจักษ์แก่สังคม สังคมก็จะช่วยกันยกย่องเชิดชูคุณงามความดีของเขาการกระทำอย่างนี้นับว่าเป็นผลดีแก่สังคม ในการที่จะดำรงรักษาสังคมนั้นให้มั่นคงเป็นปึกแผ่น ทำ

ให้สังคมมีความสงบสุขมีความสามัคคีกลมเกลียวกัน

                                ด้วยเหตุนี้คณะผู้จัดทำในฐานะที่เป็นเยาวชนคนรุ่นใหม่ จึงได้สืบค้น ศึกษาประวัติความเป็นมาและความสำคัญของประเพณีแซนโฎนตา เพื่ออนุรักษ์ประเพณีที่เก่าแก่นี้ให้คงอยู่เพื่อลูกหลานรุ่นหลัง เผยแพร่ให้คนรุ่นหลังเห็นถึงความสำคัญประเพณีแซนโฎนตาของชาวสุรินทร์และมีความภาคภูมิใจในถิ่นกำเนิดและสืบสานประเพณีให้คงอยู่สืบต่อไป

 

 

3

วัตถุประสงค์

    1. เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมาของประเพณีแซนโฏนตา

    2. เพื่อศึกษาพิธีกรรมการแซนโฎนตา

    3. เพื่อเผยแพร่ประเพณีแซนโฎนตา

 

วิธีการศึกษา                                                                                                     

                   1. ศึกษาค้นคว้าประวัติความเป็นมาของประเพณีแซนโฎนตา ซึ่งได้แก่ ความหมาย ประวัติความเป็นมา ประโยชน์ การประกอบพิธีกรรม โดยผ่านทางแผนผับและผู้รู้                                 

                  2. รวบรวมข้อมูลที่ได้จากการศึกษาค้นคว้ามาจัดทำเป็นรูปเล่มและการเผยแพร่ผ่านทางแผนผับ สู่สาธารณชน                                                                                                                         

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

                 1. เยาวชนรุ่นหลังได้ความรู้ และเรื่องราวขิงบรรพบุรุษให้ลูกหลานได้อนุรักษ์

                 2. รู้จักพิธีกรรมที่เกี่ยวกับการนับถือผี ที่ชาวเขมรเชื่อว่านรกจะมีการปล่อยวิญญาณ                โฎนตามาหาลูกหลาน

                 3. เยาวชนและลูกหลานได้รู้ความสำคัญของประเพณีแซนโฎนตาที่สืบสานกันมาหลายชั่ว อายุคน      

 

 

 

 

 

 

บทที่ 2

เอกสารที่เกี่ยวของ

 

                รายงานการศึกษาค้นคว้าเรื่อง ประเพณีแซนโฎนตา ประเพณีเก่าแก่ที่ควรรักษาไว้      คณะผู้จัดทำได้ศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องดังนี้

1.  ความหมายของประเพณีแซนโฎนตา

2.  ประวัติความเป็นมาของประเพณีแซนโฎนตา

3.  ความสำคัญของประเพณีแซนโฎนตา                                                                                                                                            4.  การประกอบพิธีกรรมแซนโฎนตา

 

ความหมายแซนโฎนตา

               ประเพณีสารทเดือนสิบ หมายถึง ประเพณีที่เนื่องในพระพุทธศาสนา ซึ่งกระทำกัน

ตั้งแต่วันขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๑๐ (สารทเล็ก) จนถึง แรม ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๐ (สารทใหญ่) เพื่ออุทิศส่วน

บุญให้กับบิดามารดา ปู่ย่าตายาย ญาติพี่น้อง และบริวารที่ล่วงลับไปแล้ว

          ผีบรรพบุรุษ หมายถึง ผีของบุคคลในตระกูลหนึ่ง ๆ ซึ่งญาติพี่น้องมีความรู้สึกว่า ผีนั้น

ยังคงมีความผูกพันกับครอบครัว และสามารถบันดาลให้เกิดเหตุการณ์ต่าง ๆ ทั้งด้านดีและไม่ดี

          แซนโฎนตา หมายถึง การเซ่นไหว้บูชาผีบรรพบุรุษผู้เป็นต้นตระกูลที่ล่วงลับไปแล้ว

เป็น ภาษาท้องถิ่นของชาวไทยเชื้อสายเขมร มี ๓ พยางค์ คำว่า

          แซนแปลว่า การเซ่นไหว้ คำว่า

          โฎนแปลว่า โคตรตระกูล ส่วนคำว่าตาแปลว่า บรรพบุรุษทุกชนชั้นที่ล่วงลับไปแล้ว                                                                                                                                              

           ตาแปลว่า บรรพบุรุษทุกชนชั้นที่ล่วงลับไปแล้ว

                  คำว่าสารทมาจากคำว่าสารท” (ภาษาสันสกฤตใช้คำว่าศารท) หมายถึง                       การเรียกชื่อฤดูใบไม้ร่วง สอดคล้องกับประเพณีอันเกี่ยวเนื่องด้วยฤดูสารทที่ พืชพันธ์ธัญญาหารออกดอกออกผล ได้เก็บเกี่ยวไปทำขนมเพื่อ เซ่นพลี บูชา ผีบรรพบุรุษหรือเทพเจ้าที่ตนนับถือ                 เชื่อกันว่าประเพณีนี้ได้รับคติความเชื่อจากอินเดีย บางแห่งเรียกประเพณีนี้ว่าสารทซึ่งบางครั้งก็เรียกควบคู่กันไปกับเดือนสิบเช่นประเพณีสารทเดือนสิบเป็นต้น ({ออนไลน์}). https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=480999811999442&id=211781758921250           

 

 

5

ประวัติความเป็นมาของประเพณีแซนโฎนตา                                                                                                     

          พระพุทธศาสนาเถรวาท ได้กล่าวถึงลักษณะความเชื่อที่เป็นจุดเริ่มต้นและ

พัฒนาการของพิธีสารทว่า มีมูลเหตุมาจากความเชื่อของมนุษย์ในยุคแรก ซึ่งในยุคนั้นพวกเขามี

ความเชื่อกันว่า บาปนั้นเกิดจากการทำผิดศีลธรรม ดังความปรากฏในสมัยหนึ่ง เมื่อพระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่ปราสาทของนางวิสาขามิคารมาตา ในบุพพาราม เขตกรุงสาวัตถี สมัยนั้น                         พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงตอบปัญหาของสามเณรชื่อวาเสฏฐะ และสามเณรชื่อภารทวาชะ ความว่าเพราะสัตว์ทั้งหลาย พากันลอยบาปอกุศลธรรมทิ้งไป คำแรกว่าพราหมณ์จึงเกิดขึ้นและทรงอธิบายผลของกรรมที่มีต่อวรรณะต่าง ๆ ว่า

               วาเสฏฐะและภารทวาชะ แม้กษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร สมณะ ผู้ประพฤติกาย

ทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต มีความเห็นผิด และชักชวนผู้อื่น ให้ทำกรรมตามความเห็นผิด เพราะการชักชวนผู้อื่น ให้ทำกรรมตามความเห็นผิดนั้น เป็นเหตุให้หลังจากตายแล้ว จะไปเกิดใน อบาย ทุคติ วินิบาต นรก แม้กษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร สมณะ ผู้ประพฤติกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต มีความเห็นชอบ และชักชวนผู้อื่นให้ทำกรรมตามความเห็นชอบ เพราะการชักชวนผู้อื่นให้ทำกรรม ตามความเห็นชอบนั้น หลังจากตายแล้ว จะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์

              เมื่อมนุษย์ในยุคแรก เกิดความเชื่อเรื่องบุญบาปและเรื่องของความดี ความชั่วแล้ว จึงพา

กันออกบวชเพื่อบำเพ็ญฌาน แสวงหาความบริสุทธิ์ให้กับชีวิต ด้วยเหตุดังกล่าวนี้เอง จึงเกิดแวดวง

ของพราหมณ์ ในยุคสมัยนั้น ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน คติความเชื่อของศาสนาพราหมณ์ มีอิทธิพลต่อวิถีชีวิตของชาวอินเดียมาก ชาวฮินดูในประเทศอินเดีย เชื่อกันว่าร่างกายของมนุษย์ เมื่อตายจากโลกนี้แล้ว ร่างกายย่อมสูญสลายไป คงเหลือไว้แต่ส่วนของนามธรรมคือวิญญาณ เที่ยววนเวียนอยู่ตามสถานที่ ที่ตนเคยอาศัยอยู่ เพราะวิญญาณไม่สามารถเดินทางไปสู่ปรโลกได้ ด้วยเหตุนี้ญาติจึงต้องประกอบพิธีบูชาข้าวบิณฑ์หรือก้อนข้าวสังเวยวิญญาณของผู้ตาย

               กำเนิดและพัฒนาการของประเพณีสารทเดือนสิบของชาวไทยเชื้อสายเขมรในจังหวัดสุรินทร์ เป็นประเพณีที่สะท้อนถึงวิถีชีวิตของชาวจังหวัดสุรินทร์ เป็นขนบธรรมเนียมประเพณีสืบทอดกันมาตั้งแต่โบราณ และชาวจังหวัดสุรินทร์ ยังคงรักษาประเพณีนี้ไว้จนถึงปัจจุบัน

               ประเพณีสารทในพระพุทธศาสนาที่ปรากฏในสังคมไทยการทำบุญกลางปีของคนไทยนั้น ตรงกับวันสิ้นเดือน ๑๐ หรือ แรม ๑๕ ค่า เดือน ๑๐ซึ่งเป็นช่วงที่พืชพันธุ์ธัญญาหารกาลังออกดอกออกผลดีพิธีสารทมีบ่อเกิดมาจากพิธีของพราหมณ์ เมื่อชาวนาเก็บเกี่ยวรวงข้าวสาลีอันเป็นผลผลิตแรกได้จะนามาทาเป็นข้าวมธุปายาส และยาคูเพื่อเลี้ยงพราหมณ์ เพื่อเป็นสิริมงคลแก่ข้าวในนา และเพื่อเป็นการเซ่นไหว้บรรพบุรุษ คือ ปู ย่า ตา ยาย ที่ล่วงลับไปแล้ว ต่อมาเมื่อคนเปลี่ยนมา

 

 

6

 

นับถือพระพุทธศาสนา ก็รับเอาแนวคิดดังกล่าวมาปฏิบัติตาม และสืบทอดมาจนถึงประเทศไทย     ก็รับเอาแนวคิดทั้งสองศาสนามาปฏิบัติตาม   

                การอุทิศส่วนบุญไปให้บรรพบุรุษที่ตายไปเป็นเปรต การทาบุญทั้งปวงที่ทาเพื่ออุทิศผลไปให้แก่ผู้ล่วงลับไปแล้ว ซึ่งเรียกว่าทาบุญทักษิณนุปทาน หรือ เปตพลีนั้น ล้วนเป็นความเชื่อที่มีเค้ามาจากเรื่องเปรตของพราหมณ์ทั้งสิ้นประเพณีสารทเดือนสิบ (แซนโฎนตา) ของชาวไทยเชื้อสายเขมรในจังหวัดสุรินทร์ยังคงมีการปฏิบัติสืบทอดกันมาจวบจนถึงปัจจุบันนี้ ด้วยสาเหตุหลัก ๆ คือ ได้รับอิทธิพลจากคติความเชื่อเรื่องการบูชาบรรพบุรุษและการบูชาเทพเจ้าของศาสนาพราหมณ์ ได้รับอิทธิพลจากความเชื่อเรื่องการบูชาตามคติทางพระพุทธศาสนา และได้รับคติความเชื่อโบราณที่เกี่ยวกับอำนาจการให้คุณให้โทษของผีบรรพบุรุษและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่มีอยู่ในชุมชน เพราะคติความเชื่อของชาวไทยเชื้อสายเขมรเมื่อถึงช่วงเทศกาลสารทเดือนสิบ ประตูยมโลกจะเปิด เปรตจะเดินทางมาเยี่ยมญาติเพื่อขอส่วนบุญ จากญาติพี่น้องของตน ชาวไทยเขมรจึงต้องมีการจัดทำอาหาร ขนมข้าวต้ม เพื่อต้อนรับผีบรรพบุรุษเหล่านั้น การประกอบพิธีดังกล่าวเมื่อถึงรุ่งเช้าของวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๐ ก็จะนำอาหารขนมข้าวต้มไปถวายพระสงฆ์ที่วัด เพื่ออุทิศส่วนบุญให้ผีบรรพบุรุษของตน เรียกพิธีดังกล่าวว่าการทำบุญวันสารทเล็กซึ่งมีความเชื่อว่าผีบรรพบุรุษ      จะออกมาจากยมโลกได้ ๑๕ วัน หลังจากนั้นต้องกลับไปรับกรรมในยมโลกตามเดิม การประกอบพิธีสารทของชาวจังหวัดสุรินทร์นั้น มีระยะเวลาการทำบุญ ๒ ช่วง ดังนี้

            ) ช่วงสารทเล็ก (เบณฑ์ตูจ) ประกอบพิธี วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๐๒) ช่วงสารทใหญ่               นับไปอีก ๑๔ วัน นับจาก วันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๐ ถึง วันแรม ๑๕ค่ำ เดือน ๑๐

           ๒)เป็นวันสารทใหญ่ (เบณฑ์ทม)ช่วงระยะเวลานี้จะมีการประกอบพิธีสารทเดือนสิบ มีความเชื่อกันว่า สัตว์นรกจะถูกปลดปล่อยให้มารับส่วนบุญจากญาติพี่น้อง เปรตจะเดินทางมาเยี่ยมญาติที่ยังมีชีวิตอยู่ สาเหตุที่ต้องเตรียมตัวทำบุญตั้งแต่วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๐ เพราะเชื่อกันว่า             ผีบรรพบุรุษถูกปล่อยมาตั้งแต่ช่วงสารทเล็ก และเดินทางมาไกลเกิดความเหน็ดเหนื่อย หิวกระหาย เมื่อมาถึงก็จะอยู่ที่วัดรอคอยว่าญาติหรือลูกหลาน จะมาทำบุญอุทิศส่วนบุญให้หรือไม่ ตอนนี้เองหากญาติหรือลูกหลานมาทำบุญให้ผีบรรพบุรุษก็จะดีใจ และได้รับผลบุญจากที่ได้มีการทำบุญอุทิศให้ ก็จะอวยพรให้ญาติหรือลูกหลานมีความสุขความเจริญ นอกจากจะเป็นการทำบุญเพื่ออุทิศส่วนบุญให้ผีบรรพบุรุษแล้ว ยังเป็นการแสดงออกถึงความกตัญญูกตเวทีต่อผู้มีพระคุณ การสร้างปฏิสัมพันธ์ ความรักความอบอุ่นของสมาชิกในครอบครัวเครือญาติ จนถึงการสร้างความสามัคคีของคนในชุมชนด้วย

 

 

 

7

 

           

ความสำคัญของประเพณีแซนโฎนตา

 

                 การทำบุญในวันสารทนั้นถือเอาฤดูข้าวออกรวงเป็นน้ำนมจะนำเอาไปทำข้าว

ปายาส (ข้างหุงเจือด้วยน้ำนม และน้ำตาล ข้าวเปียกเจือนมผสมน้ำตาล) ข้าวทิพย์ และข้าวยาคูเลี้ยงดูพราหมณ์ ในเมืองไทยนั้นได้ทำตามพราหมณ์ตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัยแล้ว  เนื่องจากเรานับถือทั้งพระและพราหมณ์ เมื่อถึงวันสารทต้องทำบุญถวายทั้งพระภิกษุและพราหมณ์พร้อม ๆ กัน โดยเรียกชื่อวันสารทในภาคต่าง ๆ อาจผิดเพี้ยนไปบ้าง เช่น ในภาคอีสาน เรียกว่า ทำบุญข้าวสาก และแซนโฎนตา ภาคใต้ เรียกว่า จัดหรับ (ยกหรับ) ชิงเปรต หรือส่งตายาย ภาคเหนือเรียก ตานก๋วยสลาก ภาคกลางเรียก สารทเดือนสิบ พิธีสารทนี้ล้วนทำกันในเดือน ๑๐ ทั้งสิ้น ความมุ่งหมายในการทำคล้าย ๆ กัน คือ ทำบุญเพื่ออุทิศส่วนบุญให้แก่ญาติพี่น้องที่ล่วงลับไปแล้ว โดยเฉพาะผู้ที่    ตกทุกข์ได้ยากอยู่ในสัมปรายภพ กล่าวกันว่า ในวันสารทบรรดาเปรตทั้งหลายจะได้รับการปลดปล่อยให้กลับไปเยี่ยมบ้าน และญาติพี่น้องเป็นการทำบุญร่วมกับพวกเปรตทั้งญาติและ             ไม่ใช่ญาติ วันสารทจึงเป็นวันสงเคราะห์ใหญ่ที่เรียกว่า ปุพพเปตพลีนั้นนิยมทำบุญด้วยกระยาสารท เป็นวัฒนธรรมไทยที่บรรพบุรุษต้องการส่งเสริมพืชพันธุ์ธัญญาหาร และการครัวของสตรี ซึ่งได้โอกาสการประกอบอาหารไปในตัว ได้โอกาสส่งขนมกระยาสารทไปกำนันเพื่อนบ้านแลกเปลี่ยนกันนับเป็นวัฒนธรรมของชาติที่น่ายกย่องสรรเสริญ และน่าส่งเสริมอย่างยิ่

                ประเพณีสารทเป็นประเพณีที่มีพัฒนาการมาจากความเชื่อเรื่องการทำ เปตพลี ของศาสนาพราหมณ์ กล่าวคือในศาสนาพราหมณ์มีประเพณีอยู่ประเพณีหนึ่ง เรียกว่า เปตพลี เป็นประเพณีที่จัดขึ้นเพื่อทำบุญอุทิศส่วนบุญให้แก่ผู้ตาย ประเพณีนี้ ปฏิบัติต่อเนื่องกันมาในอินเดียก่อนสมัยพุทธกาล ลักษณะสำคัญของประเพณีสารทนั้น ดังนี้

                     1. ด้านจุดมุ่งหมายของการอุทิศส่วนบุญ

        เพื่อขวนขวายทำบุญให้ตัวเอง กล่าวคือ เพื่อความสุขของตัวเอง เป็นหลักความไม่ประมาท ในการที่จะทำอะไร ๆ ด้วยความเพียรและในการที่จะพัฒนาตน คือต้องไม่ประมาทต้องมองเห็นตระหนักในความสำคัญของกาลเวลา และความเปลี่ยนแปลงว่าในขณะที่เราดำเนินชีวิตอยู่นี้ สิ่งทั้งหลายรอบตัวเราและชีวิตของเรา ล้วนไม่เที่ยงแท้ แน่นอน เราจะมัวนิ่งนอนใจอยู่ไม่ได้ มีอะไรที่ควรจะทำต้องรีบทำ ต้องเร่งขวนขวายไม่ประมาท ไม่นอนใจ ไม่ฝัดเพี้ยนหลักไม่ประมาทนี้ พระพุทธเจ้าทรงสอนว่าเหมือนกับรอยเท้าช้างที่ครอบคลุมธรรมะของพระองค์ไว้หมด แล้วก็เป็น ปัจฉิมวาจาของพระองค์ก่อนปรินิพพานด้วย จึงถือว่าสำคัญอย่างยิ่ง

 

 

8

                

 

                   2. ด้านบุคคล

               ผลของทานที่ปรากฏแก่เปรตทั้งหลายที่ได้รับส่วนบุญจากญาติ ๆ และผู้ที่อุทิศส่วนบุญไปให้ซึ่งก็ปรากฏเป็นข้าวปลาอาหารเครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย ที่เป็นปัจจัยพื้นฐานเหมือนกับมนุษย์ เป็นการสะท้อนให้เห็นว่า การจัดเครื่องเซ่นสังเวย บูชา อุทิศส่วนบุญให้แก่ญาติๆ ที่เป็นเปรตนั้น มีวัตถุสิ่งของต่าง ๆ ที่ใช้ในการประกอบพิธีกรรม ในคัมภีร์พระไตรปิฎกของเถรวาทได้กล่าวถึงพัฒนาการของการ เซ่นสรวงเครื่องสังเวยต่าง ๆ ตามรูปแบบในพิธีของศาสนาพราหมณ์ เช่น เครื่องสังเวย และภาชนะใส่เครื่องบูชาต่าง ๆ

                 

                  3.ด้านเวลา

               วันสารทเป็นวันนักขัตฤกษ์ที่นิยมของคนทั้งหลาย ว่าเป็นวันที่จะได้ทำบุญรื่นเริง เลี้ยงดูกันในตอนกลางปีอีกครั้งหนึ่ง มูลเหตุนี้เองการอุทิศส่วนบุญจึงต้องมีเงื่อนไขของวันและเวลาเป็นองค์ประกอบ ดังพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคว่าเหล่าชนผู้อนุเคราะห์ย่อมให้อาหารและน้ำดื่มที่สะอาดประณีตเหมาะแก่พระสงฆ์ตามกาล อุทิศให้ญาติทั้งหลาย (ผู้ที่ตายไปแล้ว)

 

 

การประกอบพิธีกรรมแซนโฎนตา

 

         พิธีกรรมสารท (แซนโฎนตา) ในประเพณีสารทเดือนสิบของชาวจังหวัดสุรินทร์นั้นมี

พื้นฐานความเชื่อ ที่เกิดขึ้นจากการกระทา ซึ่งมีส่วนสัมพันธ์กับวิถีชีวิต สัมพันธ์กับความเชื่อต่าง ๆ

ไม่ว่าจะเป็นความเชื่อต่อสิ่งใดก็ตาม ส่วนใหญ่แล้วจะมีความคล้ายคลึงกันกับพิธีกรรมอื่น ๆ ของคนอีสาน เช่น การทาบุญอุทิศส่วนกุศล การบูชาบรรพบุรุษ เหล่านี้ เป็นต้น ซึ่งพิธีกรรมแต่ละท้องถิ่นบางอย่างก็มีเอกลักษณ์เป็นของตัวเอง เช่น พิธีสารท (แซนโฎนตา) ของชาวไทยเชื้อสายเขมรในจังหวัดสุรินทร์ ก็มีเอกลักษณ์อีกรูปแบบหนึ่งที่เป็นลักษณะเฉพาะตัว เช่น การจัด กระเฒอ

(กระจาด) ไปทาบุญที่วัด การแห่กระจาดไปประกวดในตัวจังหวัด การแย่งสิ่งของหลังจาก                     การเทกระจาด เหล่านี้  เป็นต้น เมื่อประมวลภาพรวมแล้ว จะมีลักษณะสำคัญ ๕ อย่าง ดังนี้

พิธีกรรมในประเพณีสารทเดือนสิบ (แซนโฎนตา) ของชาวจังหวัดสุรินทร์นั้น                                          มีระยะเวลาการทาบุญ ๒ ช่วง ดังนี้

                   

 

 

9

 

                   () ช่วงสารทเล็ก (เบณฑ์ตูจ) ประกอบพิธี วันขึ้น ๑๕ ค่า เดือน ๑๐ ของกลุ่มชาวไทยเชื้อสายเขมรที่พูดภาษาเขมร ซึ่งบุญประเพณีนี้เรียกตามภาษาท้องถิ่นว่าเบณฑ์ตูจคำว่า  เบณฑ์ตูจ เป็นคาผสม มาจากภาษาบาลีว่าปิณฑะแปลว่า ก้อนข้าว การทาบุญในช่วงสารทเล็กนี้ เป็นการเริ่มต้นทาบุญอุทิศส่วนกุศลไปให้ญาติที่ล่วงลับไปแล้ว ในช่วงสารทเล็กนี้เองจะมีพิธีกันสงฆ์ เป็นภาษาท้องถิ่น แยกเป็นสองคา คือคาว่ากันแปลว่า ถือสงฆ์แปลว่าพระสงฆ์เมื่อรวมสองคานี้เข้ากัน เป็นคาว่ากันสงฆ์มีความหมายว่า ชาวบ้านนาอาหารไปถวายพระสงฆ์ในวัดโดยไม่ต้องให้พระสงฆ์ออกบิณฑบาตที่หมู่บ้านบางแห่งอาจจะกำหนดเป็นระยะเวลา ๑๕ หรือ บางแห่ง มีแค่ ๗ วัน ระยะเวลาการกันสงฆ์นั้น แล้วแต่ชาวบ้านและคณะกรรมการวัดจะกำหนดเป็นเวลากี่วัน

                       () ช่วงสารทใหญ่ นับไปอีก ๑๔ วัน นับจาก วันแรม ๑ ค่า ถึง วันแรม ๑๕ ค่า เดือน ๑๐เป็นวันสารทใหญ่ (เบณฑ์ทม) คาว่า เบณฑ์ทม เป็นคาผสม มาจากภาษาบาลีว่าปิณฑะแปลว่า ก้อนข้าว ช่วงสารทใหญ่นี้ ไม่ได้มุ่งบาเพ็ญบุญเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้แก่บรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว เพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่เป็นการแสดงความกตัญญูกตเวทีต่อ บิดา มารดา ปู ย่า ตา ยาย                  ที่ยังมีชีวิตอยู่ ซึ่งช่วงสารทใหญ่นี้มีพิธีกรรมที่สำคัญ คือ พิธีสารทเดือนสิบ (พิธีแซนโฎนตา)                 การประกอบพิธีกรรมนั้น ประกอบด้วย เครื่องเซ่นไหว้ และภาชนะที่ใช้ใส่เครื่องเซ่นไหว้                เครื่องบูชาจะประกอบไปด้วยกรวย ๕ (ดอกไม้ ธูป เทียน อย่างละ ๕ คู่) เครื่องเซ่นไหว้ ประกอบด้วยอาหารหวานคาว เครื่องดื่ม หมากพลู บุหรี่ และเสื้อผ้าอาภรณ์ ส่วนในด้านของเวลาในการประกอบพิธีกรรม จะเริ่มตั้งแต่ตอนเช้าของวันแรม ๑๔-๑๕ ค่า เดือน ๑๐ เป็นต้นไป

 

 

 

 

 

 

 

 

บทที่ 3

วิธีดำเนินการ

 

                    รายงานการศึกษาค้นคว้าเรื่อง ประเพณีแซนโฎนตาประเพณีเก่าแก่ที่ควรรักษาไว้           คณะผู้จัดทำได้ดำเนินการดังนี้

                    1. ตั้งประเด็นปัญหา เรื่องประเพณีแซนโฎนตาที่มีการเซ่นไหว้ผีจริงหรือ ?             โดยคณะผู้จัดทำได้เผยแพร่ผ่านทางแผ่นผับและใบงานที่อาจารย์ให้ช่วยกันตอบคำถามในสิ่ง              ที่เราสนใจ

                    2. ศึกษาค้นคว้าข้อมูลจากแหล่งความรู้ต่างๆ เช่น ห้องสมุด สื่อสิ่งพิมพ์ต่างๆ และครูที่มีความรู้เกี่ยวกับประเพณีแซนโฎนตา ในหัวข้อต่อไปนี้

                               2.1 ความหมายของประเพณีแซนโฎนตา

                               2.2 ประวัติความเป็นมาชองประเพณีแซนโฎนตา

                               2.3  ความสำคัญของประเพณีแซนโฎนตา

                               2.4 การประกอบพิธีกรรมแซนโฎนตา

                           3. รวบรวมข้อมูลที่ได้จากการศึกษาค้นคว้า การสอบถามผู้รู้ มาวิเคราะห์ สังเคราะห์ และเรียบเรียงข้อมูลตามที่หัวข้อที่ต้องการ เพื่อสรุปเป็นองค์ความรู้                                                            

 

 

 

 

 

 

 

บทที่ 4

ผลการศึกษาและสรุปอภิปรายผล

 

                รายงานการศึกษาค้นคว้าเรื่อง ประเพณีแซนโฎนตาประเพณีเก่าแก่ที่ควรรักษาไว้              คณะผู้จัดทำได้ผลการศึกษาและสรุปอภิปรายผลดังนี้  

ผลการศึกษา    

                 1. ประวัติความเป็นมา

-  แซนโฎนตา เป็นพิธีกรรมแห่งความเชื่อเรื่องผีที่มีมาก่อนศาสนาพราหมณ์ และพุทธ ซึ่งเผยแพร่มาจากอินเดีย และมีการแซนโฎนตากันเป็นประจำแต่ไม่มีพิธีรีตองมากนัก ก่อนที่จะกำหนดวันเซ่นไหว้ที่มาจากความเชื่อ                                                                                                                                         

                 2. ความหมาย                                                                                                                                                      -  เป็นประเพณีการเซ่นไหว้ผีบรรพบุรุษ ที่นับได้ว่าเป็นประเพณีสำคัญที่คนไทยเชื้อสายเขมร             สืบต่อกันมาเป็นระยะเวลานาน                                                                                                                        แซนโฎนตา หมายถึง การเซ่นไหว้บูชาผีบรรพบุรุษผู้เป็นต้นตระกูลที่ล่วงลับไปแล้วเป็น                  ภาษาท้องถิ่นของชาวไทยเชื้อสายเขมร มี ๓ พยางค์ คำว่า                                                                                แซนแปลว่า การเซ่นไหว้ คำว่า โฎนแปลว่า โคตรตระกูล                                                                      ส่วนคำว่าตาแปลว่า บรรพบุรุษทุกชนชั้นที่ล่วงลับไปแล้ว                                                                                                                                              

               3. การประกอบพิธีกรรม

1. การเตรียมอุปกรณ์เครื่องเซ่นไหว้              2. การเซ่นไหว้ศาลพระภูมิประจำหมู่บ้าน                                          3. การเซ่นไหว้ศาลพระภูมิประจำบ้าน          4. การประกอบพิธีรรมแซนโฎนตาที่บ้าน                             5. การประกอบพิธีกรรมบายเย็น                   6. การประกอบพิธีกรรมารแซนโฎนตา                                          

(บางท้องถิ่นอาจมีความแตกต่างกันเล็กน้อย)

   

                

 

12

 

 4.ประโยชน์

                                           1. ได้ความรู้ และเรื่องราวของบรรพบุรุษ ให้ลูกหลานได้อนุรักษ์

                                 2.รู้จักพิธีกรรมที่เกี่ยวกับการนับถือผี ที่ชาวเขมรเชื่อว่านรกจะมารปล่อยวิญญาณโฎนตาออกมาหาลูกหลาน

 

สรุปและอภิปรายผล

                จากการศึกษาเรื่องการบูชาผีบรรพบุรุษหรือประเพณีแซนโฎนตาแล้วนั้น มีการยอมรับในระดับหนึ่งในสังคมไทย แม้ความหมายจะยังไม่ชัดเจนมากนักในบริบทของสังคม แต่การบูชาผีบรรพบุรุษนั้นก็เพื่อเป็นการทาบุญอุทิศส่วนบุญ ให้พ่อแม่ ปู่ย่า ตา ยาย ตลอดจนญาติพี่น้อง และเจ้ากรรมนายเวรจนกลายเป็นขนบธรรมเนียม ประเพณี ที่ปฏิบัติสืบต่อกันมา จนสามารถหล่อหลอมสังคมได้เป็นอย่างดี เป็นคุณค่าทางจริยธรรม และเป็นรูปแบบวิถีชีวิตที่ประเสริฐ สอดคล้องกับปรากฏการณ์ในสังคมของชาวไทยเชื้อสายเขมรในจังหวัดสุรินทร์ ซึ่งในปัจจุบันชาวจังหวัดสุรินทร์ มีการประกอบ พิธีเซ่นไหว้ผีบรรพบุรุษประจำบ้าน และประจาหมู่บ้านตลอดถึงการบวงสรวงสิ่งศักดิ์สิทธิ์ชาวบ้านเชื่อกันว่า ท่านเหล่านั้นเป็นผู้ที่คุ้มครอง ดูแลรักษาคนในบ้าน และคนในหมู่บ้าน ที่สำคัญคือ ชาวสุรินทร์มีความเชื่อว่ามนุษย์เกิดมามีครูกำเนิด ติดตัวมา จึงต้องจัดทาจวมกูร อันเป็นสัญลักษณ์แทนครูกำเนิดของตนไว้ประจาบ้าน เมื่อถึงวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาก็จะกราบไหว้บูชา เมื่อเกิดเจ็บไข้ได้ป่วย มักจะสันนิษฐานว่าครูกำเนิดเป็นต้นเหตุ เมื่อมีการทาพิธีเซ่นไหว้ผีแล้ว จะทาให้ผู้เซ่นไหว้ไม่มีอันตราย เพราะสิ่งเหล่านั้นจะช่วยปกป้องคุ้มครอง คติความเชื่อนี้มีความสัมพันธ์กับความเชื่อเรื่อง การเซ่นไหว้ผีบรรพบุรุษ เพราะเชื่อกันว่า ผีตายาย เป็นผีที่มีอิทธิพลต่อชีวิต สามารถให้คุณก็ได้ให้โทษก็ได้ ซึ่งเมื่อกล่าวโดยสรุปแล้ว การเซ่นไหว้ผีบรรพบุรุษเป็นพิธีกรรมที่เด่นที่สุดของชาวไทยเชื้อสายเขมรในจังหวัดสุรินทร์ เพราะเป็นการแสดงออกถึงการความกตัญญู การเคารพบรรพบุรุษ โดยเฉพาะในประเพณีสารทเดือนสิบ หรือภาษาท้องถิ่นของชาวไทยเชื้อสายเขมรในจังหวัดสุรินทร์ เรียกกันว่า ประเพณีแซนโฎนตา.