ความสำคัญของประเพณีแซนโฎนตา

ความสำคัญของประเพณีแซนโฎนตา “การทำบุญในวันสารทนั้นถือเอาฤดูข้าวออกรวงเป็นน้ำนมจะนำเอาไปทำข้าว ปายาส (ข้างหุงเจือด้วยน้ำนม และน้ำตาล ข้าวเปียกเจือนมผสมน้ำตาล) ข้าวทิพย์ และข้าวยาคูเลี้ยงดูพราหมณ์ ในเมืองไทยนั้นได้ทำตามพราหมณ์ตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัยแล้ว เนื่องจากเรานับถือทั้งพระและพราหมณ์ เมื่อถึงวันสารทต้องทำบุญถวายทั้งพระภิกษุและพราหมณ์พร้อม ๆ กัน โดยเรียกชื่อวันสารทในภาคต่าง ๆ อาจผิดเพี้ยนไปบ้าง เช่น ในภาคอีสาน เรียกว่า ทำบุญข้าวสาก และแซนโฎนตา ภาคใต้ เรียกว่า จัดหรับ (ยกหรับ) ชิงเปรต หรือส่งตายาย ภาคเหนือเรียก ตานก๋วยสลาก ภาคกลางเรียก สารทเดือนสิบ พิธีสารทนี้ล้วนทำกันในเดือน ๑๐ ทั้งสิ้น ความมุ่งหมายในการทำคล้าย ๆ กัน คือ ทำบุญเพื่ออุทิศส่วนบุญให้แก่ญาติพี่น้องที่ล่วงลับไปแล้ว โดยเฉพาะผู้ที่ ตกทุกข์ได้ยากอยู่ในสัมปรายภพ กล่าวกันว่า ในวันสารทบรรดาเปรตทั้งหลายจะได้รับการปลดปล่อยให้กลับไปเยี่ยมบ้าน และญาติพี่น้องเป็นการทำบุญร่วมกับพวกเปรตทั้งญาติและ ไม่ใช่ญาติ วันสารทจึงเป็นวันสงเคราะห์ใหญ่ที่เรียกว่า ปุพพเปตพลีนั้นนิยมทำบุญด้วยกระยาสารท เป็นวัฒนธรรมไทยที่บรรพบุรุษต้องการส่งเสริมพืชพันธุ์ธัญญาหาร และการครัวของสตรี ซึ่งได้โอกาสการประกอบอาหารไปในตัว ได้โอกาสส่งขนมกระยาสารทไปกำนันเพื่อนบ้านแลกเปลี่ยนกันนับเป็นวัฒนธรรมของชาติที่น่ายกย่องสรรเสริญ และน่าส่งเสริมอย่างยิ่ ประเพณีสารทเป็นประเพณีที่มีพัฒนาการมาจากความเชื่อเรื่องการทำ เปตพลี ของศาสนาพราหมณ์ กล่าวคือในศาสนาพราหมณ์มีประเพณีอยู่ประเพณีหนึ่ง เรียกว่า เปตพลี เป็นประเพณีที่จัดขึ้นเพื่อทำบุญอุทิศส่วนบุญให้แก่ผู้ตาย ประเพณีนี้ ปฏิบัติต่อเนื่องกันมาในอินเดียก่อนสมัยพุทธกาล ลักษณะสำคัญของประเพณีสารทนั้น ดังนี้ 1. ด้านจุดมุ่งหมายของการอุทิศส่วนบุญ “เพื่อขวนขวายทำบุญให้ตัวเอง กล่าวคือ เพื่อความสุขของตัวเอง เป็นหลักความไม่ประมาท ในการที่จะทำอะไร ๆ ด้วยความเพียรและในการที่จะพัฒนาตน คือต้องไม่ประมาทต้องมองเห็นตระหนักในความสำคัญของกาลเวลา และความเปลี่ยนแปลงว่าในขณะที่เราดำเนินชีวิตอยู่นี้ สิ่งทั้งหลายรอบตัวเราและชีวิตของเรา ล้วนไม่เที่ยงแท้ แน่นอน เราจะมัวนิ่งนอนใจอยู่ไม่ได้ มีอะไรที่ควรจะทำต้องรีบทำ ต้องเร่งขวนขวายไม่ประมาท ไม่นอนใจ ไม่ฝัดเพี้ยนหลักไม่ประมาทนี้ พระพุทธเจ้าทรงสอนว่าเหมือนกับรอยเท้าช้างที่ครอบคลุมธรรมะของพระองค์ไว้หมด แล้วก็เป็น ปัจฉิมวาจาของพระองค์ก่อนปรินิพพานด้วย จึงถือว่าสำคัญอย่างยิ่ง 8 2. ด้านบุคคล ผลของทานที่ปรากฏแก่เปรตทั้งหลายที่ได้รับส่วนบุญจากญาติ ๆ และผู้ที่อุทิศส่วนบุญไปให้ซึ่งก็ปรากฏเป็นข้าวปลาอาหารเครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย ที่เป็นปัจจัยพื้นฐานเหมือนกับมนุษย์ เป็นการสะท้อนให้เห็นว่า การจัดเครื่องเซ่นสังเวย บูชา อุทิศส่วนบุญให้แก่ญาติๆ ที่เป็นเปรตนั้น มีวัตถุสิ่งของต่าง ๆ ที่ใช้ในการประกอบพิธีกรรม ในคัมภีร์พระไตรปิฎกของเถรวาทได้กล่าวถึงพัฒนาการของการ เซ่นสรวงเครื่องสังเวยต่าง ๆ ตามรูปแบบในพิธีของศาสนาพราหมณ์ เช่น เครื่องสังเวย และภาชนะใส่เครื่องบูชาต่าง ๆ 3.ด้านเวลา วันสารทเป็นวันนักขัตฤกษ์ที่นิยมของคนทั้งหลาย ว่าเป็นวันที่จะได้ทำบุญรื่นเริง เลี้ยงดูกันในตอนกลางปีอีกครั้งหนึ่ง มูลเหตุนี้เองการอุทิศส่วนบุญจึงต้องมีเงื่อนไขของวันและเวลาเป็นองค์ประกอบ ดังพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคว่า “เหล่าชนผู้อนุเคราะห์ย่อมให้อาหารและน้ำดื่มที่สะอาดประณีตเหมาะแก่พระสงฆ์ตามกาล อุทิศให้ญาติทั้งหลาย (ผู้ที่ตายไปแล้ว)

วันพฤหัสบดีที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2557

ประวัติความเป็นมาและความสำคัญของประเพณีแซนโฎนตา


ความเป็นมาและความสำคัญ

            ประเพณีสารทเดือนสิบ (แซนโฎนตา) ของชาวไทยเชื้อสายเขมรในจังหวัดสุรินทร์ ยังคงมีการปฏิบัติสืบทอดกันมาจวบจนถึงปัจจุบันนี้ ด้วยสาเหตุหลัก ๆ คือ ได้รับอิทธิพลจากคติความเชื่อเรื่องการบูชาบรรพบุรุษและการบูชาเทพเจ้าของศาสนาพราหมณ์ ได้รับอิทธิพลจากความเชื่อเรื่องการบูชาตามคติทางพระพุทธศาสนา และได้รับคติความเชื่อโบราณที่เกี่ยวกับอำนาจการให้คุณให้โทษของผีบรรพบุรุษและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่มีอยู่ในชุมชน เพราะคติความเชื่อของชาวไทยเชื้อสายเขมรเมื่อถึงช่วงเทศกาลสารทเดือนสิบ ประตูยมโลกจะเปิด เปรตจะเดินทางมาเยี่ยมญาติเพื่อขอส่วนบุญ จากญาติพี่น้องของตน ชาวไทยเขมรจึงต้องมีการจัดทำอาหาร ขนมข้าวต้ม เพื่อต้อนรับผีบรรพบุรุษเหล่านั้น การประกอบพิธีดังกล่าวเมื่อถึงรุ่งเช้าของวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๐ ก็จะนำอาหารขนมข้าวต้มไปถวายพระสงฆ์ที่วัด เพื่ออุทิศส่วนบุญให้ผีบรรพบุรุษของตน เรียกพิธีดังกล่าวว่า

             การทำบุญวันสารทเล็กซึ่งมีความเชื่อว่าผีบรรพบุรุษจะออกมาจากยมโลกได้ ๑๕ วัน หลังจากนั้นต้องกลับไปรับกรรมในยมโลกตามเดิม การประกอบพิธีสารทของชาวจังหวัดสุรินทร์นั้น มีระยะเวลาการทำบุญ ๒ ช่วง ดังนี้

๑)ช่วงสารทเล็ก (เบณฑ์ตูจ) ประกอบพิธี วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๐                                                  ) ช่วงสารทใหญ่ นับไปอีก ๑๔ วัน นับจาก วันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๐ ถึง วันแรม ๑๕

ค่ำ เดือน ๑๐ เป็นวันสารทใหญ่ (เบณฑ์ทม)

            ช่วงระยะเวลานี้จะมีการประกอบพิธีสารทเดือนสิบ มีความเชื่อกันว่า สัตว์นรกจะถูกปลดปล่อยให้มารับส่วนบุญจากญาติพี่น้อง เปรตจะเดินทางมาเยี่ยมญาติที่ยังมีชีวิตอยู่ สาเหตุที่ต้องเตรียมตัวทำบุญตั้งแต่วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๐ เพราะเชื่อกันว่า ผีบรรพบุรุษถูกปล่อยมาตั้งแต่ช่วงสารทเล็ก และเดินทางมาไกลเกิดความเหน็ดเหนื่อย หิวกระหาย เมื่อมาถึงก็จะอยู่ที่วัดรอคอยว่าญาติหรือลูกหลาน จะมาทำบุญอุทิศส่วนบุญให้หรือไม่ ตอนนี้เองหากญาติหรือลูกหลาน                 มาทำบุญให้ผีบรรพบุรุษก็จะดีใจ และได้รับผลบุญจากที่ได้มีการทำบุญอุทิศให้ ก็จะอวยพรให้ญาติหรือ

 

 

 

 

2

 

ลูกหลานมีความสุขความเจริญ นอกจากจะเป็นการทำบุญเพื่ออุทิศส่วนบุญให้ผีบรรพบุรุษแล้ว              ยังเป็นการแสดงออกถึงความกตัญญูกตเวทีต่อผู้มีพระคุณ การสร้างปฏิสัมพันธ์ ความรัก                 ความอบอุ่นของสมาชิกในครอบครัวเครือญาติ จนถึงการสร้างความสามัคคีของคนในชุมชนด้วยบรรพบุรุษก็จะดีใจ และได้รับผลบุญจากที่ได้มีการทำบุญอุทิศให้ ก็จะอวยพรให้ญาติหรือลูกหลานมีความสุขความเจริญ นอกจากจะเป็นการทำบุญเพื่ออุทิศส่วนบุญให้ผีบรรพบุรุษแล้ว ยังเป็นการแสดงออกถึงความกตัญญูกตเวทีต่อผู้มีพระคุณ การสร้างปฏิสัมพันธ์ ความรักความอบอุ่นของสมาชิกในครอบครัวเครือญาติ จนถึงการสร้างความสามัคคีของคนในชุมชนด้วย

                การประกอบพิธีสารทดังกล่าว สอดคล้องกับคติความเชื่อในพระพุทธศาสนาคือหลัก

ปฏิบัติที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตรัสไว้คือ การทำพลีกรรม ๕ อย่าง คือ ญาติพลี อติถิพลี ปุพพ

เปตพลี ราชพลี เทวตาพลี นอกจากนั้นหลักธรรมที่เห็นได้จากประเพณีสารทเดือนสิบก็คือการ

เคารพผู้ใหญ่ที่เป็นบรรพบุรุษในวงศ์ตระกูล และการแสดงออกซึ่งความกตัญญู รู้คุณต่อบิดามารดา

และบรรพบุรุษ ซึ่งถือว่าเป็นหน้าที่ของผู้อยู่ครองเรือนทั่วไปจะพึงกระทำ และไม่จำเพาะเจาะจงว่า

จะต้องทำให้แก่ผู้ที่เป็นสมาชิกภายในครอบครัว หรือผู้ที่เป็นเครือญาติของตนเท่านั้น แต่ให้กระทำ

แก่ผู้อื่นที่เป็นมิตรสหาย หรือผู้ที่อยู่ร่วมสังคมเดียวกัน ว่าโดยหลักก็คือการทำกุศลกรรมบางอย่าง

แล้วอุทิศส่วนบุญที่เกิดขึ้นเพื่อประโยชน์แก่ผู้อื่นด้วยนั่นเอง หลายครั้งที่การอุทิศส่วนบุญ มุ่งไปยัง

เปรต และบรรพชนซึ่งเชื่อกันว่า  บัดนี้อาจจะกำลังประสบความทุกข์อยู่ในทุคติภูมิ การกระทำ

ดังกล่าวนับว่ามีประโยชน์ในเชิงปฏิบัติต่อการระงับความหิวของเปรตนั้นเป็นอย่างยิ่ง และเป็น

เครื่องรับประกันว่า พวกเขาจะไม่สร้างความเดือดร้อนต่อมนุษย์อีกด้วย  ยิ่งไปกว่านั้นหากพิจารณา

ถึงประโยชน์ ที่สังคมจะพึงได้จากการบูชาคุณของญาติที่ล่วงลับไปแล้วนี้  ก็สามารถมองเห็น

ช่องทาง ที่จะขยายประโยชน์ออกไปได้อย่างกว้างขวาง กล่าวคือ เมื่อผู้ที่ล่วงไปแล้วเคยสร้างคุณงามความดีไว้มากจนเป็นที่ประจักษ์แก่สังคม สังคมก็จะช่วยกันยกย่องเชิดชูคุณงามความดีของเขาการกระทำอย่างนี้นับว่าเป็นผลดีแก่สังคม ในการที่จะดำรงรักษาสังคมนั้นให้มั่นคงเป็นปึกแผ่น ทำ

ให้สังคมมีความสงบสุขมีความสามัคคีกลมเกลียวกัน

                                ด้วยเหตุนี้คณะผู้จัดทำในฐานะที่เป็นเยาวชนคนรุ่นใหม่ จึงได้สืบค้น ศึกษาประวัติความเป็นมาและความสำคัญของประเพณีแซนโฎนตา เพื่ออนุรักษ์ประเพณีที่เก่าแก่นี้ให้คงอยู่เพื่อลูกหลานรุ่นหลัง เผยแพร่ให้คนรุ่นหลังเห็นถึงความสำคัญประเพณีแซนโฎนตาของชาวสุรินทร์และมีความภาคภูมิใจในถิ่นกำเนิดและสืบสานประเพณีให้คงอยู่สืบต่อไป

 

 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น