ความสำคัญของประเพณีแซนโฎนตา

ความสำคัญของประเพณีแซนโฎนตา “การทำบุญในวันสารทนั้นถือเอาฤดูข้าวออกรวงเป็นน้ำนมจะนำเอาไปทำข้าว ปายาส (ข้างหุงเจือด้วยน้ำนม และน้ำตาล ข้าวเปียกเจือนมผสมน้ำตาล) ข้าวทิพย์ และข้าวยาคูเลี้ยงดูพราหมณ์ ในเมืองไทยนั้นได้ทำตามพราหมณ์ตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัยแล้ว เนื่องจากเรานับถือทั้งพระและพราหมณ์ เมื่อถึงวันสารทต้องทำบุญถวายทั้งพระภิกษุและพราหมณ์พร้อม ๆ กัน โดยเรียกชื่อวันสารทในภาคต่าง ๆ อาจผิดเพี้ยนไปบ้าง เช่น ในภาคอีสาน เรียกว่า ทำบุญข้าวสาก และแซนโฎนตา ภาคใต้ เรียกว่า จัดหรับ (ยกหรับ) ชิงเปรต หรือส่งตายาย ภาคเหนือเรียก ตานก๋วยสลาก ภาคกลางเรียก สารทเดือนสิบ พิธีสารทนี้ล้วนทำกันในเดือน ๑๐ ทั้งสิ้น ความมุ่งหมายในการทำคล้าย ๆ กัน คือ ทำบุญเพื่ออุทิศส่วนบุญให้แก่ญาติพี่น้องที่ล่วงลับไปแล้ว โดยเฉพาะผู้ที่ ตกทุกข์ได้ยากอยู่ในสัมปรายภพ กล่าวกันว่า ในวันสารทบรรดาเปรตทั้งหลายจะได้รับการปลดปล่อยให้กลับไปเยี่ยมบ้าน และญาติพี่น้องเป็นการทำบุญร่วมกับพวกเปรตทั้งญาติและ ไม่ใช่ญาติ วันสารทจึงเป็นวันสงเคราะห์ใหญ่ที่เรียกว่า ปุพพเปตพลีนั้นนิยมทำบุญด้วยกระยาสารท เป็นวัฒนธรรมไทยที่บรรพบุรุษต้องการส่งเสริมพืชพันธุ์ธัญญาหาร และการครัวของสตรี ซึ่งได้โอกาสการประกอบอาหารไปในตัว ได้โอกาสส่งขนมกระยาสารทไปกำนันเพื่อนบ้านแลกเปลี่ยนกันนับเป็นวัฒนธรรมของชาติที่น่ายกย่องสรรเสริญ และน่าส่งเสริมอย่างยิ่ ประเพณีสารทเป็นประเพณีที่มีพัฒนาการมาจากความเชื่อเรื่องการทำ เปตพลี ของศาสนาพราหมณ์ กล่าวคือในศาสนาพราหมณ์มีประเพณีอยู่ประเพณีหนึ่ง เรียกว่า เปตพลี เป็นประเพณีที่จัดขึ้นเพื่อทำบุญอุทิศส่วนบุญให้แก่ผู้ตาย ประเพณีนี้ ปฏิบัติต่อเนื่องกันมาในอินเดียก่อนสมัยพุทธกาล ลักษณะสำคัญของประเพณีสารทนั้น ดังนี้ 1. ด้านจุดมุ่งหมายของการอุทิศส่วนบุญ “เพื่อขวนขวายทำบุญให้ตัวเอง กล่าวคือ เพื่อความสุขของตัวเอง เป็นหลักความไม่ประมาท ในการที่จะทำอะไร ๆ ด้วยความเพียรและในการที่จะพัฒนาตน คือต้องไม่ประมาทต้องมองเห็นตระหนักในความสำคัญของกาลเวลา และความเปลี่ยนแปลงว่าในขณะที่เราดำเนินชีวิตอยู่นี้ สิ่งทั้งหลายรอบตัวเราและชีวิตของเรา ล้วนไม่เที่ยงแท้ แน่นอน เราจะมัวนิ่งนอนใจอยู่ไม่ได้ มีอะไรที่ควรจะทำต้องรีบทำ ต้องเร่งขวนขวายไม่ประมาท ไม่นอนใจ ไม่ฝัดเพี้ยนหลักไม่ประมาทนี้ พระพุทธเจ้าทรงสอนว่าเหมือนกับรอยเท้าช้างที่ครอบคลุมธรรมะของพระองค์ไว้หมด แล้วก็เป็น ปัจฉิมวาจาของพระองค์ก่อนปรินิพพานด้วย จึงถือว่าสำคัญอย่างยิ่ง 8 2. ด้านบุคคล ผลของทานที่ปรากฏแก่เปรตทั้งหลายที่ได้รับส่วนบุญจากญาติ ๆ และผู้ที่อุทิศส่วนบุญไปให้ซึ่งก็ปรากฏเป็นข้าวปลาอาหารเครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย ที่เป็นปัจจัยพื้นฐานเหมือนกับมนุษย์ เป็นการสะท้อนให้เห็นว่า การจัดเครื่องเซ่นสังเวย บูชา อุทิศส่วนบุญให้แก่ญาติๆ ที่เป็นเปรตนั้น มีวัตถุสิ่งของต่าง ๆ ที่ใช้ในการประกอบพิธีกรรม ในคัมภีร์พระไตรปิฎกของเถรวาทได้กล่าวถึงพัฒนาการของการ เซ่นสรวงเครื่องสังเวยต่าง ๆ ตามรูปแบบในพิธีของศาสนาพราหมณ์ เช่น เครื่องสังเวย และภาชนะใส่เครื่องบูชาต่าง ๆ 3.ด้านเวลา วันสารทเป็นวันนักขัตฤกษ์ที่นิยมของคนทั้งหลาย ว่าเป็นวันที่จะได้ทำบุญรื่นเริง เลี้ยงดูกันในตอนกลางปีอีกครั้งหนึ่ง มูลเหตุนี้เองการอุทิศส่วนบุญจึงต้องมีเงื่อนไขของวันและเวลาเป็นองค์ประกอบ ดังพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคว่า “เหล่าชนผู้อนุเคราะห์ย่อมให้อาหารและน้ำดื่มที่สะอาดประณีตเหมาะแก่พระสงฆ์ตามกาล อุทิศให้ญาติทั้งหลาย (ผู้ที่ตายไปแล้ว)

วันพฤหัสบดีที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2557

รูปภาพของประเพณีแซนโฎนตา














ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น